บลอกอาจารย์โจ้

Posts tagged ‘วิวัฒนาการ’

มนุษย์หรือเพียงลิงที่โชคดี

TATGL_2015

The Ape That Got Lucky

ดีใจจังได้ฟังรายการ The Ape That Got Lucky อีกครั้งจาก BBC4Extra

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ทำแบบทดสอบเรื่อง phylogenetic tree กัน

สนใจทำแบบทดสอบเรื่อง phylogenetic tree คลิ๊กเลย

Phylogenetic_Quiz_2015

ลองใช้ WordPress และ Plug-in Watu สร้างแบบทดสอบย่อยเรื่อง Phylogenetic tree ขึ้นมาให้ลองทดสอบกันดูบนเว็บไซต์ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เวอร์ชันใหม่)

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

หนังสือเรื่อง Adaptive Speciation

Adaptive Speciation

ห้องสมุดสตางค์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีบริการให้อาจารย์แนะนำหนังสือสำหรับซื้อเข้าห้องสมุดเป็นประจำทุกปี ปีละหลายๆครั้ง ในปีนี้ผมพบว่าในลิสต์รายชื่อหนังสือที่ทางห้องสมุดให้มามีเรื่อง Adaptive Speciation ด้วย ที่หากจะให้แปลเป็นไทย ผมก็อาจจะแปลว่า “การปรับตัวสู่สปีชีส์ใหม่” เปิดมาหน้าแรกก็พบคำอธิบายว่า…

การที่เราพยายามที่จะเข้าใจว่าความหลากหลายทางชีวภาพกำเนิดขึ้นได้อย่างไรนั้น เป็นความรู้พื้นฐานที่จะทำให้เราเข้าใจอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสรรพชีวิตบนโลก ในหนังสือเล่มนี้ เราจะได้อ่านเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นจะนำไปสู่การแยกกันของสายพันธุ์เดิมเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้

หนังสือจะอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเกิดสปีชีส์ใหม่ควบคู่ไปกับข้อมูลการศึกษาการเกิดสปีชีส์ใหม่ภายใต้กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าการเกิดสปีชีส์ใหม่ไม่ใช่กระบวนการที่เป็นผลพลอยได้จากการที่ประชากรถูกแยกออกจากกันทางภูมิศาสตร์แต่น่าจะเป็นผลของทั้งการแยกกันดังกล่าวควบคู่ไปกับกระบวนการทางนิเวศที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน ที่จะทำให้เราเห็นว่าการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและการเกิดสปีชีส์ใหม่มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง

เนื้อหาในหนังสือถูกแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่และย่อยดังนี้

  1. บทนำ
  2. แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดสปีชีส์ใหม่
  3. ทฤษฎีเชิงพันธุกรรมของการสปีชีส์ใหม่ในพื้นที่เดียวกัน (sympatric speciation)
  4. พลศาสตร์ของการปรับตัวของการเกิดสปีชีส์ใหม่ เมื่อพิจารณากันในเชิงนิเวศ
  5. …เมื่อพิจารณาในเชิงประชากรที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
  6. ทฤษฎีเชิงพันธุกรรมของการเกิดสปีชีส์ใหม่ในต่างพื้นที่กัน (allopatric speciation)
  7. พลศาสตร์ของการปรับตัวของการเกิดสปีชีส์ใหม่ เมื่อพิจารณาโครงสร้างการกระจายตัว
  8. การเกิดสปีชีส์ใหม่และการแผ่กระจายพันธุ์ (adaptive radiation) ของปลาหมอสีแอฟริกัน Haplochromine
  9. การคัดเลือกโดยธรรมชาติและการเกิดสปีชีส์ใหม่เชิงนิเวศ (ecological speciation) ของปลาหลังหนาม (stickleback)
  10. การปรับตัวสู่สปีชีส์ใหม่ (adaptive speciation) ของปลาน้ำจืดตอนเหนือ
  11. การเกิดสปีชีส์ใหม่ในพื้นที่เดียวกันของพวกแมลง
  12. การปรับตัวสู่สปีชีส์ใหม่ของศัตรูทางการเกษตร (agricultural pest)
  13. การเกิดสปีชีส์ใหม่เชิงนิเวศของพืชดอก
  14. การทดลองเกี่ยวกับการปรับตัวและการแยกออกจากกัน (divergence) ของสายพันธุ์ในประชากรแบคทีเรีย
  15. รูปแบบและผังแสดงภูมิศาสตร์วิวัฒนาการ (phylogeography) ของสปีชีส์ที่เกิดขึ้นใหม่
  16. การเกิดความหลากหลากหลายของกิ้งก่าคาริบเบียนสกุล Anolis
  17. การแผ่กระจายพันธุ์ของพืชเทือกเขาแอฟริกัน
  18. ความหลากหลายและการเกิดสปีชีส์ใหม่ของปลาเซมินอทิดในทะเลสาบเมซอโซอิกริฟท์
  19. บทส่งท้าย

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

ปฏิบัติการเรื่องการสังเคราะห์แสงและวิวัฒนาการ

image

(ภาพจาก MUIC Science Division Facebook) จัดปฎิบัติการเรื่องการสังเคราะห์แสง วิวัฒนาการและนิเวศวิทยาให้กับนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติในวิชา ICBI102 Integrated laboratories in biology 1 เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2556 ณ ห้อง 1506 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

พาชมรมวิทยาศาสตร์ชม Bio-Geo Path

ชมรมวิทยาศาสตร์ (Science Club) ของวิทยาลัยนานาชาติ ติดต่อขอมาชมเส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์ (Bio-Geo Path) ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 โดยมีผมเป็นผู้บรรยายประวัติ และนำชมเส้นทางฯ และทำกิจกรรมร่วมกันในการออกแบบการแสดงข้อมูลยุคจูราสซิคแบบใหม่
MUIC_Science_Club_20130717_17
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

สอบกลางภาคใน L-01

SCBI411_Midterm_Examination_20121226_01

การสอบกลางภาคสำหรับวิชา วทชว 411 วิวัฒนาการในปีนี้ต้องมาใช้ห้อง L-01 ที่ตึกกลม ที่กว้างขวางจุคนกว่า 500 คน แต่มีนักศึกษาสอบเกือบ 60 คน

เจ้าหน้าที่ที่หาห้องสอบให้บ่นเล็กน้อยเนื่องจากผมไม่ได้ใช้ประโยชน์จากห้องขนาดใหญ่ ที่จะได้กระจายนักศึกษาให้อยู่ห่างๆกันได้ทั้งห้อง แต่ใช้เพียงด้านหน้า และบางส่วนของช่วงกลางของห้องเท่านั้น

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

ปฏิบัติการเรื่องวิวัฒนาการ

เมื่อวันอังคารที่ 20 พ.ย. 2555 เป็นคิวที่ผมต้องไปสอนนักศึกษาที่วิทยาลัยนานาชาติในวิชา ICBI 102 Integrated Biology Laboratory  เกี่ยวกับวิวัฒนาการ ซึ่งในปีนี้เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนๆที่พับกระดาษ มาเป็นแบบลงทุนหน่อยโดยใช้สารพัดเมล็ดพืชและอื่นๆ

  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์
  • ถั่วลิสง
  • ถั่วแดง
  • ถั่วดำ
  • ถั่วเขียว
  • ข้าว
  • เม็ดสาคู

โดยกำหนดให้มันเป็นเหยื่อในขณะที่นักศึกษาใช้ตะเกียบที่ความยาวแตกต่างกันทำตัวเป็นผู้ล่า โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นหนังสือพิมพ์หรือเป็นถาด

ให้นักศึกษาผู้ล่าหากินเหยื่อแบบต่างๆ โดยแบ่งการทดลองออกเป็นสี่ตอน

  • ตอนที่ 1 ศึกษาผลของสิ่งแวดล้อมว่าถ้าฉากหลังเป็นถาดกับกระดาษหนังสือพิมพ์จะมีอัตราการล่าหรือถูกล่าต่างกันหรือไม่
  • ตอนที่ 2 ศึกษาว่าเหยื่อชนิดใดล่าง่ายที่สุด (แน่นอนว่าคงเป็นมะม่วงหิมพานต์)
  • ตอนที่ 3 เมื่อกำหนดให้ค่าโภชนาการต่างกัน (เม็ดใหญ่สุดมีค่าน้อยสุด) ผู้ล่าจะใช้ยุทธวิธีอะไรในการล่าเพื่อให้ได้อาหารเพียงพอในเวลาที่กำหนด
  • ตอนที่ 4 ถ้าทำการทดลองแบบตอนที่ 3 แต่เหยื่อมีจำกัดและผู้ล่าต้องแย่งกัน จะเกิดอะไรขึ้น

Spill the beans?

จัดฉากวางเมล็ดต่างๆในภาพบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่บังเอิญเห็นข่าวฟุตบอลพอดี เหมาะมากที่จะเอาเมล็ดต่างๆไปซ่อน ลองมองดูครับ จะเจอทั้ง 7 อย่างที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

เลคเชอร์เรื่องวิวัฒนาการที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ติดต่อมาให้ไปเลคเชอร์เรื่องวิวัฒนาการเช่นเดิม หัวข้อในปีนี้ตัดเรื่องวิวัฒนาการมนุษย์ออกไปให้อาจารย์ท่านอื่นเลคเชอร์บ้าง จึงเหลือหัวข้อเช่น

  • กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
  • แนวคิดและหลักฐานทางวิวัฒนาการ
  • การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
  • สปีชีส์และการเกิดสปีชีส์ใหม่

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ว30261 พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ ผมจัดสไลด์ไป 162 สไลด์แค่นั้นเอง สำหรับเลคเชอร์ 6 ชั่วโมง ถ้าคิดตามตัวเลขก็ตก 27 สไลด์ต่อชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงแต่ละเรื่องก็ใช้เวลาไม่เท่ากันอยู่ดี

ปีนี้ไม่ต้องออกข้อสอบให้เพราะมีอาจารย์แอบฟังอยู่ในห้องอื่นเวลาเลคเชอร์ ซึ่งจะออกข้อสอบให้นักเรียนสอบกันเองในภายหลัง

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

จะไปสอนชีววิทยาในหลักสูตรเตรียมความพร้อมนักศึกษาปี 1 คณะ ICT

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ม.มหิดล เปิดหลักสูตรเตรียมความพร้อมให้ว่าที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรเตรียมความพร้อม (Preparatory Program 2012) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 มิ.ย. ถึง 22 ก.ค. 2555 นี้

การเรียนการสอนจะเป็นภาษาอังกฤษเหมือนกับเรียนจริงๆ และในส่วนของวิชาวิทยาศาสตร์ ก็จะมีวิชาชีววิทยาอยู่ในนั้น โดยจะสอนกันในหัวข้อที่อ้างอิงตามหนังสือชีววิทยาของแคมป์เบล (หน้าปกนกเพลิแกน) ดังนี้

  • The Scope of Biology
    • 1.1 Life’s levels of organization define the scope of biology
    • 1.2 Living organisms and their environments from interconnecting webs
    • 1.3 Cells are the structural and functional unit of life
  • Evolution, unity, and diversity
    • 1.4 The unity of life: allforms of life have common features
    • 1.5 The diversity of life can be arranged into three domains
    • 1.6 Evolution explains the unity and diversity of life
  • The Process of Science
    • 1.7 Scientist use two main approaches to learn about nature
    • 1.8 With hypothesis-based science, we pose and test hypothesis
  • Biology and Everyday Life
    • 1.9 Biology is connected to our lives in many ways.
โดยหัวข้อที่ 1.1-1.3 จะสอนโดยอ.เยาวลักษณ์ ส่วนผมเองจะสอนหัวข้อที่ 1.4-1.6 โดยมีอ.ระพี สอนในหัวข้อที่ 1.9 ส่วนหัวข้อที่ 1.7 และ 1.8 จะไม่สอนในหลักสูตรนี้

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

สอบวิวัฒนาการในห้องปิดตาย

การสอบโดยใช้ห้อง B401 จะทำให้ได้ภาพแบบนี้ออกมาเมื่อถ่ายภาพจากด้านนอกผ่านประตูเข้าไป

สอบกลางภาควิชาวทชว 411

ในภาพเป็นการสอบวิชา วทชว 411 วิวัฒนาการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ในช่วงแรกของการสอบ มีอาจารย์จอห์นควบคุมการสอบอยู่ในห้อง