บลอกอาจารย์โจ้

Posts tagged ‘มหาวิทยาลัยมหิดล’

MUSC Bookfair 2018

งานสัปดาห์หนังสือที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีนี้ถือเป็นครั้งที่ 12 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 23 กุมภาพันธ์ 2561 และเช่นเดียวกับหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ที่ผมได้ซื้อหนังสือเอาไว้ โดยในปีนี้ (ในวันแรกของการจัดงาน) ก็ได้มา 2 เล่ม

MUSC_Bookfair_20180220

จากมุมหนังสือขายถูกของร้านหนังสือชื่อดังที่เป็นขาประจำของงานหนังสือที่คณะวิทย์

  • Research Method (8th Edition) โดย Donald H. McBurney และ Theresa L. White
  • Essentials of Ecology (6th Edition) โดย G. Tyler Miller และ Scott E. Spoolman

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

สเต็กร้านมิวสิคสแควร์

music_square_steak_1of3_20161105

เมนูสเต็กสันนอกราดซอสไวน์แดง

ในวันที่มหาวิทยาลัยมหิดลจัดกิจกรรมมหิดลวิชาการเมื่อระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2559 ได้หาโอกาสมาทานมื้อกลางวันที่ร้านอาหารที่มีน้ำและต้นไม้รอบรอบในบริเวณของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยเมนูที่สั่งนี้ผมได้เล็งเอาไว้ตั้งแต่มาทานข้าวกับกลุ่มผู้อบรมหลักสูตร EDP รุ่นที่ 15 เมื่อหลายวันก่อน

สเต็กเนื้อสันนอกราดซอสไวน์แดง (Sirloin staek read wine sauce served with garden medley skewers ans mashed potatos) เสริฟพร้อมกับผักอบเนยและมันฝรั่งบด (ราคา 390 บาท) ที่บริกรไม่ได้ถามว่าจะเอาสุกแค่ไหน จึงต้องเดินกลับมาถามใหม่ และที่เวลาก่อนเที่ยงเล็กน้อย มีโต๊ะที่มาก่อนผมเพียงหนึ่งโต๊ะ และระหว่างที่รออาหารก็มีลูกค้ามาเพิ่มอีกสามกลุ่ม

Music_Square_Steak_2of3_20161105.jpg

สลัดผักมาก่อนจานหลักพอสมควร ราดซอสรสเปรี้ยว ๆ มา ทานจนหมดสเต็กถึงมา

music_square_steak_3of3_20161105

เครื่องดื่มที่ลองสั่งมาเป็นน้ำส้มโซดาปั่น (orange fizz) ราคา 75 บาท ที่หลังจากสั่งเสร็จ ก็ได้ยินอีกโต๊ะหนึ่งที่อาจจะใจตรงกันเลือกน้ำส้มโซดาปั่นเหมือนกัน

ทางร้านคิดค่าบริการ (service charge) ที่ 10% ดังนั้นค่าอาหารเที่ยงวันนี้จึงลงเอยที่ครึ่งพันนิด ๆ หากจะทานข้าวฟรีจากงานมหิดลวิชาการ (ข้าวมันไก่) ก็คงจะไม่ต้องเสียเงิน

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหิดล

MUSC_Physics_Building_2016

รวบรวมภาพที่ถ่ายในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ประชุมภาคครั้งที่ 5/2555

ดูเหมือนจะมีประชุมสามอย่างติดๆกันในวันเดียวถ้าดูบลอกโพสต์สองอันก่อนหน้านี้ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง และไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะอาจารย์บางท่านอาจมีประชุมมากกว่าสามงานในวันเดียวก็ได้

ขึ้นมาประชุมทันเรื่องตารางสอนชีววิทยาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และก็พบว่าต้องสอนเพิ่มแทนอาจารย์ที่ลาดออกไปอีกสองกลุ่ม ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ที่คงแทบไม่ต้องเข้ามาพญาไทเลย เพราะอยู่ศาลายาแทบทุกวัน

ดูภาพบรรยายกาศการประชุมได้ที่ http://bit.ly/MnoSKd

อาจารย์ที่ปรึกษาทุนโครงการพิเศษ

ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ระดับปริญญาตรี) มีนักศึกษาที่ได้รับทุนโครงการพิเศษต่างๆอยู่จำนวนมาก จนได้จัดให้มีการตั้งกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษขึ้นมาเพื่อดูแลนักศึกษากลุ่มนี้แยกต่างหากกับนักศึกษาปกติ ซึ่งก็ได้ดำเนินการเช่นนี้มาหลายปี และปีนี้ผมก็ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทุนโครงการพิเศษนี้ต่ออีกหนึ่งปีเช่นกัน

การประชุมจัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2555 เวลา 14:30 ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มีเรื่องต่างๆที่อาจารย์กลุ่มนี้ควรทราบต่างๆได้แก่

  • ปฏิทินกิจกรรมสำหรับนักศึกษา
  • สรุปการจัดกิจกรม Junior Science Club ในปีการศึกษา 2554 ที่ผ่านมา
  • กำหนดวันปฐมนิเทศนักศึกษาทุนโครงการพิเศษ ชั้นปีที่ 1-4 ในวันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555
  • กำหนดวันปฐมนิเทศนักศึกษาทุนโครงการพิเศษ ระดับบัณฑิตศึกษา ในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2555
  • การจัดค่ายนักศึกษาทุนโครงการพิเศษ ที่จะกลับมาจัดในปีนี้อีกครั้ง หลังจากเคยได้จัดไปเมื่อปี 2552 ที่สัตหีบและเกาะแสมสารกันมาแล้ว

ดูภาพเพิ่มเติมที่ http://bit.ly/Mn0J6z

อาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีที่ 1

ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 1 ต่ออีกหนึ่งปี และได้มีการประชุมร่วมกันในวันนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ที่รับตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้วเช่นกันดังรายชื่อต่อไปนี้

  • อ.ขวัญ อายะธนิตกุล (ภาควิชาฟิสิกส์)
  • อ.นฤมล เอมะรัตต์ (ภาควิชาฟิสิกส์)
  • อ.วัชรีพร ตฤณชาติวณิชย์ (ภาควิชาชีววิทยา)
  • อ.ณัฐพล อ่อนปาน (ภาควิชาชีววิทยา)
  • อ.กรกนก บุญวงษ์ (ภาควิชาคณิตศาสตร์)
  • อ.วารุณี สาริกา (ภาควิชาคณิตศาสตร์)
  • อ.ทินกร เตียนสิงห์ (ภาควิชาเคมี)

ซึ่งได้ประชุมกันในวาระดังนี้

  • จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2555 ที่จะถึงนี้คือ 280 คนจากทั้งระบบโควต้าและแอดมิดชั่น
  • นักศึกษาที่มีทุนการศึกษา 29 คน (จะมีการรับทดแทนเพิ่ม ขอให้ทำเกรดเทอมหนึ่งกันดีๆ)
    • ทุนพสวท. 3 คน (2 คนจะอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ อีก 1 คนจะไปเรียนหลักสูตรธรณีวิทยาที่วิทยาเขตกาญจนบุรี)
    • ทุนศรีตรังทอง 16 คน
    • ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์ 10 คน
  • ดูปฏิทินกิจกรรมต่างๆสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1
  • ปฐมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ตรงกับบ่ายวันพุธที่ 13 มิถุนายน 2555
  • ทุนการศึกษา (ทุนขาดแคลน)
  • แผนการศึกษา
  • แนวทางให้คำปรึกษา

ประชุมกันเมื่อวันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2555 เวลา 13:30-14:30 ณ ห้อง K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีนักศึกษามาปรึกษาเท่าไหร่ เพราะนักศึกษามักจะปรึกษากับอาจารย์ที่คุ้นเคยมากๆเช่นอาจารย์ขวัญและอ.นฤมลที่เลคเชอร์นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์กันทุกสัปดาห์อยู่แล้ว แต่ปีนี้อาจมีโครงการเพื่อให้นักศึกษาได้พบปะกับอาจารย์ท่านอื่นมากขึ้น

ดูภาพเพิ่มเติมที่ http://bit.ly/MmXAnb

ค่ายวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

ค่ายวิทยาศาสตร์ (Science Camp) มีอยู่หลายค่าย แต่สำหรับที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแล้วมีอยู่ค่ายเดียวที่ดำเนินการโดยสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ (สนว.) ซึ่งในปีนี้จัดตรงกับวันที่ 3-5 เมษายน 2555 จากเดิมที่มักจะจัดตอนเปิดภาคเรียนที่สองราวๆเดือนพฤศจิกายน …แน่นอนว่าเหตุผลก็คือหนีน้ำท่วมมานั่นเอง

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

MAS Camp 2012

มันเกี่ยวอะไรกับพาวเวอร์เรนเจอร์ด้วยก็ไม่ทราบ

กำหนดการ

  • ปิดรับสมัคร 4 พฤศจิกายน 2554
  • กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ 3-5 เมษายน 2555

ประวัติความเป็นมา

สักวันหนึ่งจะต้องมีคนถามว่า MAS Camp มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ผมคงเล่าให้ฟังได้เท่าที่ทราบจากช่วงเวลาที่มันได้กำเนิดขึ้นมา (Origion of MAS Camp!)

ค่ายวิทยาศาสตร์ที่จัดโดยนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีชื่อว่าค่ายวิทยาศาสตร์เฉยๆ มีเพื่อนที่เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์รุ่นเดียวกันเคยเข้าค่ายอยู่กันหลายคนเช่นออน รจนภร (ค่าย #3) อ้อ สุวัชรา (ค่าย #4) และตัวผมเอง อาท นรินทร์ และโสม (ค่าย #5)

ในปีพ.ศ. 2538 พี่ๆชั้นปี 3 ที่ควรจะต้องดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ดันเกิดความคิดว่าจะไม่จัดขึ้นมา เพราะมีค่ายวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ (รับน้องในสมัยนั้น) ที่ต้องจัดอยู่แล้ว

กรรมการบริหารรุ่น 3705xxx SCSC/B (หรือ SC37) จึงประชุมกันและลงมติกันว่าจะจัดกันเองแทนพี่ปี 3 และจะเป็นครั้งแรกที่ปี 2 จะเป็นคนจัดค่ายวิทยาศาสตร์นี้ ในเวลาต่อมาวัฒนธรรมให้ปี 2 จัดค่ายวิทย์ และปี 3 จัดค่ายวิทยาศาสตร์ยังดำเนินต่อมา จนถึงตอนไหนก็ไม่ทราบที่สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เริ่มมีบทบาทและนำนักศึกษาทุกชั้นปีมาทำงานร่วมกันได้

ประธานค่ายวิทยาศาสตร์ในตอนนั้น (รวี ศิริธรรมวัฒน์) เสนอให้เปลี่ยนชื่อค่ายเพื่อให้ดูเก๋ไก๋แม้กิจกรรมในค่ายจะไม่ได้เปลี่ยนไปสักเท่าไหร่ โดยมีการเสนอชื่อต่างๆที่ไม่เหลืออยู่ในความทรงจำแล้วมาหลายชื่อ แต่ชื่อที่ได้รับการคัดเลือกคือ “Mahidol Alternative Science Camp” หรือที่เรียกย่อๆกันว่า MAS Camp

ดูเหมือนว่าคำว่า MAS Camp ก็จะยังถูกใช้เรื่อยมา แต่ไม่มีน้องๆคนไหนรู้ว่าชื่อค่ายนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร

กิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์

กิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลมีรูปแบบที่ทำให้น้องๆค่ายประทับใจ และในช่วงที่พวกเรายังคงอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ ก็มั่นใจได้ว่ากิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินต่อไป

  • เปิดบ้านคณะวิทยาศาสตร์แบบมินิ คือการชมคณะวิทยาศาสตร์ในวันแรกของค่าย ที่คณะวิทยาศาสตร์พญาไท ก่อนจะให้เดินทางไปที่พักที่ม.มหิดล ศาลายา
  • ซุ้มมือรับน้องตอนมาถึงศาลายา
  • กิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (สาขาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ) เช้าวันเสาร์
  • กิจกรรมซุ้ม เล่นเกมส์ สันทนาการ ฯลฯ ตอนบ่ายวันเสาร์
  • กิจกรรมตามล่านักวิทยาศาสตร์ เอารุ่นพี่มาแต่งตัวให้เป็นนักวิทยาศาสตร์..แบบขำๆ เช่นให้สอดคล้องกับชื่อและงานที่ทำ และให้วิ่งไล่ขอลายเซ็นต์แลกกับเล่นเกมส์หรือบูมกลุ่มเก็บคะแนน
  • กิจกรรมบายศรี ตอนกลางคืน (เป็นช่วงทำให้น้องค่ายซึ้งเผื่อจะเลือกเข้าคณะวิทยาศาสตร์)
  • วันอาทิตย์เดินทางกลับ
กิจกรรมใน MAS Camp #23 ระหว่าง 3-5 เมษายน 2555
  • ลงทะเบียน
  • พิธีเปิด
  • แล็บซ่าท้ากึ๋น
  • Welcome to Salaya
  • เปิดตัว Ranger
  • Ice Breaking
  • To be Ranger
  • Finding Monster
  • กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
  • กิจกรรมฐาน
  • The First Battle
  • สันทนาการ
  • The Last Battle
  • Bye Bye MAS Camp
  • พิธีปิด

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

ประกาศผลการคัดเลือกเข้าคณะวิทยาศาสตร์ ระบบรับตรง 2555

ของแสดงความยินดีกับนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในระบบโควต้า/รับตรงสำหรับปีการศึกษา 2555 นี้นะครับ

นักเรียนสามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่เว็บไซต์งานการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่ URL: http://www.sc.mahidol.ac.th/sced/ ซึ่งจะมีเอกสารดังนี้

ทั้งนี้มีกำหนดการที่นักเรียนควรทราบและปฏิบัติตามดังนี้

  • 11-17 มีนาคม 2555 ตัดสินใจยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาต่อผ่านระบบ Clearing House 
  • 23 มีนาคม 2555 ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ และได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหิดลผ่านระบบโควตา/รับตรง
  • 24-28 มีนาคม 2555 ว่าที่นักศึกษาใหม่กรอกทะเบียนประวัติผ่านระบบ eProfile
  • 26-28 มีนาคม 2555 ดาวน์โหลดใบแจ้งยอดค่าลงทะเบียนจากเว็บไซต์ของนักศึกษาใหม่
  • 6 เมษายน 2555 หลักฐานผลการเรียนและใบจบหลักสูตรม.ปลายต้องถึงงานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
  • 31 มีนาคม 2555 (เฉพาะผู้ได้รับทุนพสวท.และศรีตรังทอง) นักศึกษาพร้อมผู้ปกครองมาทำสัญญารับทุนที่คณะวิทยาศาสตร์

ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่จะได้มาเป็นนักศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดลในปีการศึกษา 2555 ที่จะถึงนี้ครับ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

สัปดาห์หนังสือที่คณะวิทย์ มหิดล 2555

Mahidol_Payathai_Bookfair_20111223_01

ในงานสัปดาห์หนังสือที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีที่แล้วนั้น ผมก็ได้หนังสือมาหลายเล่ม แต่คิดๆไปแล้วก็ซื้อมาแล้วใช้ไม่คุ้มสักเล่ม

ปีนี้ก็คงได้ไปเดินดูหนังสืออีก และก็คงต้องตั้งใจว่าจะต้องอ่านหนังสือที่ซื้อมาให้คุ้ม

ที่มั่นใจว่าใช้คุ้มก็คือพวกตำรา แต่บางเล่มก็แพ๊งแพง แต่ด้วยระบบฝากให้ห้องสมุดช่วยซื้อให้ ทำให้มีโอกาสได้อ่านหนังสือแพงๆ และช่วยให้คนอื่นได้มีโอกาศได้อ่านหนังสือแพงๆตามไปด้วย

เว็บไซต์งานสัปดาห์หนังสือที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ http://stang.sc.mahidol.ac.th/bookfair2012/ ซึ่งสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเหตุการณ์พิเศษและลงทะเบียนร่วมงานได้เช่นกัน

พบคณบดี

ลงทะเบียน

 

กิจกรรม “พบคณบดี” หรือ Meet the Dean เป็นกรณีพิเศษเนื่องจากการเปลี่ยนทีมผู้บริหาร มีชื่อตอนด้วยว่า “ชาววิทย์สร้างสรรค์ ผูกสัมพันธ์เป็นหนึ่ง”

จัดขึ้นที่อาคารสตางค์ มงคลสุข ในตอนสายของวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2554 ตามด้วยการรับประทานอาหารร่วมกันของอาจารย์และบุคลากร

ดูเพิ่มเติม:

–  พบคณบดี