บลอกอาจารย์โจ้

Posts tagged ‘จีโนม’

บริษัทรับจัดการจีโนม

Link: https://blog.dnanexus.com/2019-10-04-building-a-genomeark-on-the-cloud

จีโนมสาระแน

กิจกรรม Junior Science Club ครั้งที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2555 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Genome Meddling หรือมีชื่อภาษาไทยเก๋ๆว่า “จีโนม สาระแน…” นำเสนวนาโดย ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ในสาขาชีวโมเลกุลพืช 2555

การเสวนาจัดขึ้นในวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ห้อง K102 เวลา 13:30-16:30 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

ชีวสารสนเทศศาสตร์และโครงการจีโนมมนุษย์

Bioinformatics 2003

ต้นเดือนมีนาคม เพื่อนผึ้ง ชมชื่น ศิริผันแก้ว มีงานแปลหนังสือชื่อว่า “Bioinformatics and the Human Genome Project” มาให้ช่วยทำหน่อยอย่างด่วน เพราะบอกว่าต้องการให้เสร็จภายในวันที่ 29 มีนาคม 2554 …เรียกได้ว่ามีเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ในการแปลและเรียบเรียงหนังสือขนาด 150 กว่าหน้า แต่จำนวนหน้าจริงๆคงต่ำกว่า 100 หน้าเพราะมีบางส่วนที่ไม่ต้องไปแปล เข้าใจว่าสสวท.คงจะเอาไปใช้ในการอบรมหรือทำอะไรบางอย่าง แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่ผมต้องสนใจ แต่ก็น่าเสียดายที่มันเป็นเนื้อหาที่พัฒนาขึ้นในปีค.ศ. 2003 และยิ่งถ้าเป็นงานในสาขานี้ก็นับว่าล้าสมัยไปแล้วหลายปี อาจจะกล่าวได้ว่าเนื้อหาในตำราพวกนี้ แค่ตอนพิมพ์ออกมาก็ล้าสมัยแล้ว

หนังสือเล่มนี้มีอะไร

ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆได้สามส่วน ส่วนที่หนึ่งได้แก่ส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ที่กล่าวถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ 5E ซึ่งในแง่การศึกษานั้น เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ในประเทศไทยก็นำมาใช้เช่นกัน บางคนก็อาจจะทราบว่า 5E ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่การนำไปปฏิบัติจริงนั้นก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ในหนังสือเล่มนี้มีตารางเปรียบเทียบของการจัดการเรียนการสอนแบบ 5E ว่าสิ่งที่ครูทำนั้นตามแบบ 5E นั้นเป็นอย่างไร และถ้าไม่เป็นไปตามหลัก 5E เป็นอย่างไร อีกตารางหนึ่งก็เป็นการเรียนรู้ของนักเรียนว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบใดตรงกับหลัก 5E แบบใดไม่ตรงกับหลัก 5E มีข้อเสนอแนะและแนะนำว่าครูควรทำอย่างไรด้วย อีกสองส่วนที่เหลือได้แก่ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับชีวสารสนเทศศาสตร์และโครงการจีโนมมนุษย์ และบทเรียนสำหรับนักเรียน

เนื้อหาชีวสารสนเทศศาสตร์

ส่วนที่เป็นบทนำของหนังสือ หรือหลักสูตรการเรียนรู้นี้ให้ความรู้แก่ครูก่อนที่จะนำเอาบทเรียนสำหรับนักเรียนไปสอนนักเรียน โดยในส่วนเนื้อหานี้กล่าวถึงความเป็นมาของวิชาชีวสารสนเทศศาสตร์ (bioinformatics) ว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ข้อมูล (information) ที่เป็นวัตถุดิบของวิชานี้มาจากไหน และความจำเป็นของคอมพิวเตอร์ในการศึกษาสาขาวิชานี้ การเก็บ จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากโครงการจีโนม หรืองานวิจัยด้านชีววิทยาโมเลกุล (molecular biology) ทั้งหลาย การนำชีวสารสนเทศศาสตร์ไปใช้ประยุกต์ด้านต่างๆ เข่นการแพทย์ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเด็นความขัดแย้งเกี่ยวกับการแสดงความยินยอม โดยเจ้าของตัวอย่างสารพันธุกรรมที่นักวิทยาศาสตร์นำมาวิจัย

บทบาทสมมติ

บทเรียนของนักเรียนไม่ได้เป็นเพียงชุดคำสั่งที่ให้นักเรียนทำนู่นทำเนี่ยเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับชีวสารสนเทศศาสตร์ แต่มีลักษณะเป็นการเล่นตามบทบาทของการเป็นนักชีวสารสนเทศศาสตร์ และ/หรือผู้บริหารของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่จินตนาการขึ้นมาชื่อว่า Onconomics Corporation ที่มุ่งศึกษาหาทางรักษาโรคมะเร็ง นักเรียนจะเล่นบทบาทของพนักงานในแผนกชีวสารสนเทศศาสตร์ ทำหน้าที่รวบรวมชิ้นส่วน DNA ชิ้นเล็กๆจากแผนกหาลำดับเบสให้เป็นสายของ DNA ที่ต่อเนื่องกัน ต่อจากนั้นทำหน้าที่หาว่ามันคือส่วนของยีนหรือไม่ ถ้าใช่มันเป็นยีนอะไร และมีหน้าที่อะไร ในที่สุดนักเรียนจะทราบว่ามันเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและหลอดเลือดฝอยพอง (ataxia-telangiectasia) นักเรียนจะได้เล่นบทบาทของนักวิจัยของบริษัท ที่ต้องเสนอแนะแก่ผู้บริหารว่าสมควรให้บริษัททำงานวิจัยศึกษาโรคนี้หรือไม่ ในขณะเดียวกันก็พบกับปัญหาเกี่ยวการแสดงความยินยอมให้ใช้ตัวอย่างสารพันธุกรรมที่ใช้ในโครงการนี้นั้น เดิมได้รับความยินยอมให้ศึกษาเกี่ยวกับผลของยาต่อการรักษามะเร็ง แต่การนำตัวอย่างเดียวกันนี้มาเพื่อวิจัยโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและหลอดเลือดฝอยพองนั้นทำได้หรือไม่ และเมื่อมีเจ้าของตัวอย่างเขียนคำร้องขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างของเธอ ทางบริษัทจะทำอย่างไร

แม้ว่าเนื้อหาในหนังสืออาจจะล้าหลังไปแล้ว แต่ในแง่บทเรียนนั้นน่าสนใจเพราะมันเป็นทักษะพื้นฐานที่ควรรู้ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะไปถึงไหนแล้วก็ตาม การเล่นบทบาทสมมติช่วยให้บทเรียนน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดซึ่งกันและกันได้

อ้างอิง: Biological Sciences Curriculum Study