Archive for the ‘โครงงานวิทยาศาสตร์’ Category
การนำเสนอ senior project ของนักศึกษาชีววิทยา 2560
นักศึกษาภาควิชาชีววิทยา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 นำเสนอผลการศึกษาวิชา Senior Project เมื่อระหว่างวันที่ 27-28 เมษายน 2560 ณ ห้อง L-02 และ L-05 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
โครงงานวิทยาศาสตร์นักเรียนเวียดนาม
นักเรียนจากเวียดนามมาร่วมงานวทท.เพื่อเยาวชน ในส่วนของนักเรียนมัธยม ซึ่งเป็นเพียงชาติเดียวที่เข้าร่วมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผมไปขอถ่ายภาพด้วยหลังจากฟังนักเรียนกลุ่มนี้เล่าถึงระบบชลประทานอัตโนมัติที่ตรวจับฝนตกได้ วัดความชื้นในดินได้ สื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุ ภายใต้ชื่อ The Smart Irrigation System
ผมเล่าว่านักเรียนไทยก็ทำโครงงานคล้ายๆกันเลย ดูจะดีใจที่มีคนคิดแบบทีมตนเองเหมือนกัน
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
เกณฑ์การให้คะแนนโปสเตอร์โครงงานวิทยาศาสตร์ SciEx2013
ในนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 14 (The Science Project Exhibition 2013 หรือ SciEx2013) มีการประกวดโปสเตอร์ด้วย โดยนักศึกษาต้องทำโปสเตอร์ขนาด A0 เป็นภาษาอังกฤษ โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่เป็นทั้งอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
- เนื้อหา/ข้อมูล 60%
- ลักษณะโปสเตอร์ (20%)
- ผู้นำเสนอ (20%)
นักศึกษาอาจต้องอธิบายเป็นภาษาไทยหรือเป็นภาษาอังกฤษ ขึ้นอยู่กับกรรมการที่มาถาม (เช่นหากผู้มาสอบถามเป็นชาวต่างชาติ คงต้องอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ) การให้รางวัลแบ่งออกเป็นโปสเตอร์สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:
เกณฑ์การให้คะแนนการนำเสนองานแบบ Short Talk
ในนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 14 หรือ The 14th Science Project Exhibition ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2556 มีการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่จะจบการศึกษาหลายรูปแบบ ได้แก่การนำเสนอแบบ short talk ซึ่งจะให้ผู้พูดใช้เวลาเพียง 3 นาทีในการนำเสนอสิ่งที่ตนเองทำ โดยให้ใช้สื่อเช่น PowerPoint ได้ และมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
แนวทางการให้คะแนนการนำเสนอแบบ short talk
- ความสามารถในการนำเสนอผลงาน (presentation performance)
- ลำดับเนื้อหา (organization) และความเรียบง่าย (simplicity) 35%
- การใช้เวลานำเสนอ (timing) 15%
- ความเข้าใจในเนื้อหางานวิจัยที่นำเสนอ (subject matters) 35%
- คุณภาพของสื่อการนำเสนอ (audio-visual aids) 15%
รวม 100%
แบ่งการนำเสนอเป็นสองรอบ รอบละ 11 เรื่อง
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:
- นิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 14
เทศกาลวิทยาศาสตร์มหิดลวิทยานุสรณ์ 2556
งานเทศกาลวิทยาศาสตร์มหิดลวิทยานุสรณ์ 2556 (MWit Science Fair 2013) จัดตรงกับวันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556 ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยเป็นการนำเสนอโครงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งแบบบรรยายและโปสเตอร์
การนำเสนอแบบบรรยายจัดในห้องเรียนของโรงเรียน ติดแอร์ทุกห้อง เนื่องจากห้องเรียนปกติมีนักเรียนนั่งเพียง 24 คนในการนำเสนอในห้องเรียนจึงมีที่นั่งไม่เพียงพอแม้จะมีหลายห้องย่อยในแต่ละสาขา ตั้งแต่ 2 ห้องถึง 4 ห้องย่อย แต่ละห้องบรรยายมีกรรมการ 4 ท่าน โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกในสาขาที่เกี่ยวข้อง 1 ท่าน เป็นอาจารย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง 2 ท่าน และเป็นอาจารย์ในสาขาอื่นๆ (เช่นอาจารย์ที่ไม่มาจากหมวดวิทยาศาสตร์) ทำหน้าที่เป็นเลขานุการอีก 1 ท่าน
นักเรียน 3 คนเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยควบคุมเวลา ยกป้ายสัญญาณว่าหมดเวลาหรือไม่ โดยเตือนที่ 12 นาที และหมดเวลา 15 นาที โดยมีเวลาถามตอบ 5 นาที
รูปแบบการนำเสนอเป็นแบบใช้ Powerpoint อาจมีการนำตัวอย่างมาสาธิตได้
การนำเสนอแบบโปสเตอร์จัดขึ้นในช่วงบ่ายที่โรงยิม โดยให้ติดโปสเตอร์ขนาด A0 ภาษาที่ใช้บนโปสเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนนำเสนอโดยยืนอธิบายที่โปสเตอร์โดยไม่แบ่งช่วงเวลาเป็นโปสเตอร์คู่หรือคี่ ทำให้ค่อนข้างแออัด และให้กรรมการตรวจโปสเตอร์ในเวลาที่มีนักเรียนคนอื่นอยู่ด้วยทำให้เสียงดังรบกวนมากเกินไป
การให้รางวัลแบ่งให้ตามห้องบรรยายย่อยๆ และโปสเตอร์ที่ขึ้นอยู่การแบ่งตามห้องย่อย การมอบรางวัลส่วนของโครงงานจัดขึ้นในโรงยิม ไม่ได้กลับไปจัดในห้องประชุม ที่มีการมอบรางวัลและพิธิปิดการแข่งขันตอบปัญหา MWit Science Square 2013
ผู้ทรงคุณวุฒิ
- สาขาวิชาเคมี
- รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่ม ม.ศิลปากร
- ผศ.ดร.รัชฏา บุญเต็ม ม.ศิลปากร
- รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ คงสะเสน ม.เกษตรศาสตร์
- สาขาคณิตศาสตร์
- ศ.ดร.ณรงค์ ปั้นนิ่ม
- อ.ดร.จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อ.ดร.รัตินันท์ บุญเคลือบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สาขาคอมพิวเตอร์
- ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อ.ดร.ศุภกร สิทธิไชย สวทช.
- สาขาชีววิทยา
- ผศ.ดร. วิชโรบล ธีรคุปต์
- ผศ.วรรณวไล อธิสาสน์พงศ์
- ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา ม.มหิดล
- ผศ.ดร.นพ.จามร วมณะ ม.มหิดล
- อ.ดร.ณัฐพล อ่อนปาน ม.มหิดล
- สาขาฟิสิกส์
- รศ.ดร.อรุณีย์ อินทศร
- ผศ.ดร.สุรศักดิ์
- อ.ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์
เกณฑ์การให้คะแนน
- การนำเสนอภาคบรรยาย (15 คะแนน)
- การแสดงถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษา
- มีการใช้หลักการและกระบวนทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
- การนำเสนอข้อมูล อธิบาย สาธิต ทดลองได้อย่างชัดเจน
- รูปแบบการนำเสนอ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- แสดงให้เห็นถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์
- ความพร้อมในการนำเสนอโครงงาน
- การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (10 คะแนน)
- การแสดงถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษา
- การจัดองค์ประกอบศิลป์ของโปสเตอร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความประณีต สวยงาม น่าสนใจ และเข้าใจง่าย
- ความสามารถในการอธิลาย นำเสนอข้อมูลได้อย่างชัดเจน
- ความถูกต้องของเนื้อหาข้อมูลในการจัดแสดง
- ส่วนพิเศษ (ไม่มีคะแนน)
- โครงงานนี้ควรได้รับการสนับสนุนให้ทำแบบต่อยอดหรือไม่
- โครงงานนี้ควรได้รับการสนับสนุนให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
- โครงงานนี้ควรได้รับการสนับสนุนให้นำเสนอภาคบรรยาย ณ เวทีระดับนานาชาติ
- โครงงานนี้ควรได้รับการสนับสนุนให้นำเสนอภาคโปสเตอร์ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
- คุณภาพของโครงงานในภาพรวม (A,B,C,D,E,F)
- เมื่อเรียงลำดับคุณภาพของโครงงานในภาพรวม เฉพาะห้องนำเสนอโครงงานนี้ ควรอยู่ในลำดับที่เท่าใด
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
จำนวนโครงงาน
- ในงาน MWit Science Fair 2013 มีโครงงานวิทยาศาสตร์ตามหนังสือบทคัดย่อรวม 114 เรื่อง แบ่งเป็น
- ชีววิทยา 23 เรื่อง
- เคมี 24 เรื่อง
- วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 10 เรื่อง
- คณิตศาสตร์ 16 เรื่อง
- ฟิสิกส์ 21 เรื่อง
- โครงงานจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 20 เรื่อง
รูปแบบการเขียนบทคัดย่อ
ในหนังสือบทคัดย่อ (abstract) ของงาน MWit Science Fair 2013 มีรูปแบบการเขียนในลักษณะบทคัดย่อแบบขยาย (extended abstract) ที่จะมีองค์ประกอบต่างๆ คล้ายกับที่ต้องส่งไปงาน ICYS 2012 แทนที่จะจำกัดอยู่แค่ประมาณ 250 คำ
- หัวข้อโครงงาน
- ชื่อและที่ทำงานของผู้ทำโครงงานและอีเมล์
- บทนำและวัตถุประสงค์ (Introduction and Objectives)
- วิธีทำ (Methods)
- ผล (Results)
- สรุป (Conclusion)
โครงงานส่วนใหญ่เขียนบทคัดย่อแบบขยายเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนน้อยที่เขียนในรูปแบบบทคัดย่อธรรมดาและเป็นภาษาไทย (มักมาจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย)
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:
ประกวดการประดิษฐ์รถอัจฉริยะในงานวิทยประลองยุทธ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการแข่งขันประดิษฐ์รถอัจฉริยะ ในกิจกรรมชื่อ “วิทยประลองยุทธ” ในงานเปิดบ้านคณะวิทยาศาสตร์ (Open House 2012) เมื่อวันพุธที่ 15 สิงหาคม 2555 ภายในโรงยิมอาคารสตางค์ (รอบชิงชนะเลิศ) หลังจากที่ให้เวลาประดิษฐ์รถกันในช่วงเช้าที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ
ติดตามภาพตอนประดิษฐ์และผลการแข่งขันได้ในการอัพเดทครั้งต่อไปครับ (กล้องงานการศึกษา)
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
อินโฟกราฟิค (Infographic)
เช้านี้ตื่นมาทำกราฟให้พสวท.เช่นเคย โดยเป็นเรื่องกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทุนพสวท.ระดับม.ปลาย และค่าตอบแทนที่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนและนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงจะได้รับ
หลังจากนั้นก็นำข้อมูลนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งป.โทและป.เอกของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2555 มาทำเป็นอินโฟกราฟิคต่อีกหนึ่งแผ่น
โดยมีไอเดียว่าจะนำเสนอจำนวนนักศึกษาต่อสาขาวิจัยต่างๆ โดยใช้ภาพแบบง่ายๆที่สื่อถึงสาขาเหล่านั้น และขนาดที่สอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาในสาขาเหล่านั้น
การทำ Infographic ด้วย PowerPoint เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่จากข้อมูลที่อ่านมาพบว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้โปรแกรมอื่นๆเช่นตระกูล Illustrator ในการทำงาน โดยเฉพาะพวกที่จัดการกับกราฟิคแบบเวกเตอร์ได้ (vector) เป็นต้น ทำให้ปกติที่ใช้แต่ Painter ก็งงทำอะไรไม่เป็นเหมือนกัน 555
SC51
การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ในงาน SciEx 2012 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2555 เป็นภาระกิจสุดท้ายของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ที่มีรหัสนักศึกษา 5105 ทั้งหลาย (หรือเรียกว่ารุ่น SC51)
งานช่วงเช้าผมไม่เข้าร่วมเพราะต้องไปประชุมกรรมการเยี่ยมสำรวจวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ตามระบบปประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล (MUQD) กับท่านประธานการเยี่ยมสำรวจที่คณะทันตแพทย์
ช่วงเย็นหลังจากเสร็จงาน SciEx แล้วก็จะต่อด้วยงานปัจฉิมนิเทศทันที
ปิดท้ายกันด้วยงานปาร์ตี้หมูกระทะครับ
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง: