การตัดเกรดแบบ OSU เป็นนโยบายทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไป (Genral Education) และในวิชาเลือกเสรีบางวิชา
- O มาจาก Outstanding
- S มาจาก Satisfaction
- U มาจาก Unsatisfaction
เพราะหนึ่งในงานที่อาจารย์ต้องทำคือการประเมินระดับผลการเรียนของนักศึกษา หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการ “ตัดเกรด” ซึ่งที่ผ่านมาก็พบในหลากหลายรูปแบบทั้งที่เรียกว่าอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม พอเริ่มมีการใช้ระบบที่เรียกว่า Outcome-Based Education มาใช้ ก็จะพบว่ารูปแบบที่เหมาะสมคือการการใช้แบบอิงเกณฑ์ แต่ก็ยังพบอีกว่า ณ จุดไหนที่จะทำให้เกรดต่างกัน จนถึงกับทำให้บางที่ หรือในบางประเทศ จะไม่ใช้ระบบการให้เกรด แต่จะเขียนบรรยายความรู้หรือทักษะที่ถูกวัดได้จากนักเรียนนักศึกษากันไปเลยก็มี
นักศึกษาเองที่ต้องวางแผนบริหารจัดการเรื่องระดับผลการเรียนตนเอง ซึ่งอาจมีผลต่อการได้งานทำ เช่นการได้เกรดเฉลี่ยนตอนจบการศึกษาสูง อาจทำให้มีโอกาสได้งานทำกว่าคนที่จบการศึกษาด้วยเกรดเฉลี่ยต่ำ ๆ พฤติกรรมในการเลือกลงรายวิชาที่ให้เกรดง่าย ๆ เพื่อไปเพิ่มเกรดเฉลี่ย หรือในอีกกลุ่มนักศึกษา อาจหมายถึงการอยู่รอดในระบบการศึกษา เพื่อให้เกรดที่ได้ไปช่วยดึงเกรดเฉลี่ยขึ้น
เพื่อไม่ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาที่ให้หรือได้เกรดง่าย ๆ เพื่อดึงเกรด มากกว่าเรียนเพื่ออยากได้ความรู้หรือทักษะ จึงมีแนวคิดกันว่าให้วิชาเหล่านั้นประเมินผลการเรียนเป็นแบบที่เรียกว่า OSU
ตัดเกรดแบบ OSU
ระดับผลการเรียนแบบ OSU มาจาก O ที่เป็นระดับผลการเรียนแบบ Outstanding หรือเหนือความคาดหมาย ในกรณีที่ในแต่ละรายวิชามีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาอยู่ (Course Learning Outcome: CLO) หากนักศึกษามีความรู้และทักษะเหนือกว่าระดับที่คาดหวัง ก็จะได้รับการประเมินระดับผลการเรียนเป็นระดับ O
ระดับผลการเรียน S มาจาก Satisfied ซึ่งหมายถึงนักเรียนนักศึกษามีความรู้หรือทักษะตามความคาดหวังของรายวิชาเมื่อเรียนจบวิชานั้น ๆ ในทางตรงกันข้าม หากนักศึกษาได้รับผลการประเมินเป็น U ที่มาจาก Unsatisfied มีความหมายว่านักเรียนนักศึกษายังไม่มีความรู้หรือทักษะตามที่ควรจะเป็นหลังจากเรียนรายวิชานั้น ๆ
เราอาจจะเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียจากการประเมินผลการเรียนระดับรายวิชา ระหว่างการให้ผลการประเมินแบบเป็นเกรด A B C D หรือ F เปรียบเทียบกับการประเมินเป็น O S หรือ U ได้ในหลายรูปแบบ การเรียนที่นักเรียนนักศึกษาหวังเพื่อให้ผ่าน ได้ผลการเรียนเป็น S และไม่สนใจทุ่มเทเพื่อให้ไปถึงระดับ O ทำให้บรรยากาศการเรียนเสียไป แม้ว่าตัวอาจารย์เองก็อาจจะมีผล แต่ก็ยากที่จะกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษาทั้งหมด มุ่งไปที่ระดับ Outstanding กันทั้งหมดได้
ความท้าทายของการให้การศึกษาและประเมินผลการศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนนักศึกษาทุกคนจะได้ความรู้และทักษะที่คาดหวังจากการเรียนในแต่ละวิชาก็คงจะยังมีอยู่ต่อไป
ใส่ความเห็น