บลอกอาจารย์โจ้

Posts tagged ‘สีน้ำ’

วาดภาพสีน้ำด้วยแท็บเล็ต

หลังจากที่ซื้อ iPad 2018 และปากกา Apple Pencil มาด้วย ก็รู้สึกว่าคงต้องฝึกฝีมือการวาดภาพเพิ่มเติมเพื่อจะได้ใช้งานให้คุ้มหน่อย โดยเริ่มจากต้องใช้ Samsung Galaxy Tablet Note 8 ให้คุ้มต่ออีกหน่อย พร้อมหนังสือสอนวาดภาพระบายสีน้ำ “You Can Paint” ที่ซื้อมาจากประเทศอังกฤษทีเดียว ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2001 ราคา 12.99 ปอนด์ (70 บาทต่อปอนด์ในขณะนั้น)

Alwyn Crawshaw Collin’s You Can Paint “Water Colour”

วาดด้วยสีน้ำดิจิตัล ทำให้ไม่ต้องซื้อสี กระดาษ แปรงหรือพู่กัน (แต่ก็ต้องเสียเงินซื้อแท็บเล็ตอยู่ดี) โดยใช้ SketchBook ในการร่างรูป ซึ่งส่วนมากก็เอาภาพจริงมาลอกส่วนที่เป็นโครงร่างหลักและตัดรายละเอียดไป จากนั้นก็ลงสีน้ำด้วย Hello Watercolor ที่ดูเหมือนเป็นแอพฯสำหรับเด็ก แต่ให้ความรู้สึกความเป็นสีน้ำ โดยเฉพาะความเปียกกับความโปร่งใส เมื่อสีที่เปียกเจอกันก็หลอมรวมกันแบบเปียกได้ดีแย่างเหลือเชื่อ จากนั้นก็กดปุ่มเพื่อทำให้ภาพแห้งได้ ก่อนที่จะลงสีอีกชั้นต่อไปได้

Hello Watercolor ไม่มีระบบ layer เครื่องมือและสีก็น้อยหากไม่ยอมเสียเงินซื้ออีกนิดหน่อย

“หลานกับน้องชาย” 26 สิงหาคม 2561 ที่บ้าน

ทดสอบ Bamboo Paper

Hello_World_20170914

ทดสอบโปรแกรม Bamboo Paper เวอร์ชันฟรี ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะยี่ห้อ Dell ในขณะอยู่ที่ที่ทำงาน ด้วยปากกา (stylus) ของบริษัท Wacom รุ่น Bamboo Pen & Touch

จากนั้นเปิดการทดลองใช้งานโปรแกรมแบบทดลองใช้ (Trial) ทำให้ใช้อุปกรณ์ได้มากขึ้น และทดสอบอีกครั้ง

Test_Bamboo_Paper_Tools

ทดสอบโปรแกรมเดียวกันบน Android ด้วย Samsung Galaxy Note 8 (Tablet) ใช้ S Pen ที่ติดมากับเครื่อง

Bamboo Paper “White” Canvas

ไม่ทราบว่า Bamboo Paper เวอร์ชันบน PC แบบฟรีเปลี่ยนสีของพื้นที่ในการวาดอย่างไร จึงต้องดัดแปลงทำภาพสีขาวล้วนขึ้นมาหนึ่งภาพ (ใช้ PhotoScape แล้วบันทึกภาพเป็น PNG) นำเข้า (import) มาใน Bamboo Paper ก็จะได้ภาพตัวอย่างที่นำออก (export) ออกมาดังภาพ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ภาพวาฬแม่ลูกสีน้ำดิจิตัล

Digital_Humpback_Whales_20170501

ใช้ภาพวาฬหลังค่อมแม่ลูกจากอินเตอร์เน็ตมาร่างเป็นเส้นแบบง่าย ๆ ด้วยโปรแกรม SketchBook Pro บน Samsung Galaxy Note 8.0 แล้วเอาไปลงสีน้ำด้วยโปรแกรม Hello Water Color (เวอร์ชันเสียเงินซื้อสีเพิ่ม 1 USD) ออกมาเป็นภาพที่เห็น

การใช้โปรแกรม Hello Water Color นั้นไม่ต้องพิถีพิถันมากนักจะได้ภาพเป็นธรรมชาติดีกว่า ค่อยๆ ลงอย่างบรรจง จะได้ภาพออกมาเป็นการลงสีบนคอมพิวเตอร์มากเกินไป เวลาที่ไม่ปล่อยสีแห้ง สีจะผสมกันทั้งในสีเดียวกันและสีต่างกันได้คล้ายการลงสีน้ำจริง ๆ ได้ระดับหนึ่ง ในบางครั้งได้ผลลัพธ์ที่น่าดู บางครั้งได้ผลลัพธ์ที่อันดู (undo)

ส่วนไฮไลท์ที่เป็นสีขาวของภาพ เกิดจากการเว้นไว้ไม่ลงสีอะไรเลยตั้งแต่ต้น เพราะทำให้เกิดไฮไลท์ได้ยาก หรือจะใช้เครื่องมือยางลบสีออกแทนก็ได้ แต่บางครั้งดูไม่สวยเท่ากับการเว้นไว้ตั้งแต่ตอนแรก

โปรแกรม Hello Water Color ไม่มีเครื่องมือช่วยตัดเส้น นอกจากเครื่องมือที่เป็นดินสอสี ซึ่งให้เส้นเหมือนเส้นร่าง มากกว่าจะเป็นเส้นเข้มที่ต้องการเวลาตัดเส้น ดังนั้นต้องใช้การให้สีเกิดความเปรียบต่างเพื่อให้ตัดกันเองเอาแทน การลงสีเปียกบนสีแห้งทำให้เกิดเส้นที่คมได้ระดับหนึ่งเหมือนกัน อาจใช้การส่งเส้นฉากหลังก่อน แล้วกดปุ่มทำให้แห้ง แล้วลงสีเปียกไปตัดทับอีกทีก็จะได้เส้นคมๆเพิ่มได้

หมากรุก

1491622566518

ภาพหมากรุกฝรั่ง สีน้ำด้วยโปรแกรม Hello Watercolor ร่างภาพด้วย SketchPad อุปกรณ์ Samsung Note 8.0

ทดลองใช้ Painter Essentials 5

painter_essential_5_20170202sm

ลองเอา Wacom Pen Tablet มาต่อกับ PC ตั้งโต๊ะของ DELL แล้วดาวน์โหลด Painter Essentials 5 มาทดลองใช้ดู ในเบื้องต้นพบว่า พอจอใหญ่ขึ้น แต่พื้นที่แท็บเล็ตเท่าเดิม (A5) ทำให้รู้สึกไม่เข้ากันเล็กน้อย แต่การใช้งานทำได้ปกติ รวมถึงความสามารถในการรับรู้น้ำหนักในการกดปากกาด้วย

สิ่งที่ทำให้ไม่คุ้นมากที่สุดคือการไปใช้ Galaxy Note 8 ที่วาดได้บนหน้าจอกับการใช้งาน Wacom Tablet ที่วาดบนแท็บเล็ตแล้วภาพปรากฎบนหน้าจอนั้นให้ความรู้สึกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อทดลองวาดกลับไปกับมาสองระบบ ระหว่างบน PC กับบน Tablet จะรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง

ความได้เปรียบของโปรแกรม Painter Essentials 5 บน PC มีสีน้ำ (water color) ให้ใช้ด้วยในขณะที่ Sketchbook Pro บนแท็บเล็ตไม่มีสีน้ำ ก็นับเป็นความแตกต่างอีกประการหนึ่ง

beer

(บน) ภาพเบียร์หนึ่งแก้ว ที่วาดด้วย Painter Essentials 5

sketch24103811.png

(บน) ภาพกิ้งก่าวิ่งบนน้ำ วาดด้วย Sketchbook Pro บน Samsung Galaxy Note 8

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

นักเขียนภาพทางชีววิทยา โชค

อยากวาดภาพสีน้ำได้แบบคุณโชค พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม (Punlop Anusonpronprem)

Punlop_2012.jpg

โดยใช้เจ้านี่

Bamboo_Pen_and_Touch_2012

กับโปรแกรมบนคอมฯ ก็พอได้ระดับนึง แต่ยังไม่เหมือนภาพวาดสีน้ำของจริงอยู่ดี

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ทดสอบเครื่องมือใน Hello Water Color (Free Version)

ทดสอบเครื่องมือ (tool) ที่มาพร้อมกับโปรแกรม Hello Water Color (Free Version) พบว่ามีเครื่องมือหลัก 4 อย่าง ได้แก่ (1) สีน้ำที่มีน้ำเยอะ (2) สีที่ผสมน้ำน้อย (3) ดินสอสี (4) ยางลบ สีน้ำที่มีนั้นจะมีเวอร์ชันสำหรับลงเป็นเงามาให้ด้วย

image

เมื่อลองใช้แต่ละอุปกรณ์และแต่ละสี จะช่วยให้เข้าใจความสามารถของโปรแกรมมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้วาดภาพในขั้นต่อไป

image

การทำให้กระดาษแห้งก่อนลงสีต่อไปก็สามารถทำได้ โดยในขณะที่วาดภาพอยู่จะมีบริเวณที่ให้สัมผัสเพื่อทำให้สีที่ลงไว้แห้ก่อน ผลที่ตามมาก็คือสีทั้งสอง หรือมากกว่าจะระบายซ้อนกันลงไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติความโปร่งแสงของสีน้ำ ที่โปรแกรมนี้ทำได้ดีทีเดียว แต่ถ้าระบายสีน้ำทับกัน ก่อนที่จะทำให้แห้ง จะทำให้สีหลอมรวมกันดังตัวอย่างที่แสดงด้านบน
าย

ลองแอพ Hello Water Color

เมื่อวันก่อนมีนักศึกษามาโชว์ความสามารถของ Procreate แอพลิเคชันบน iOS ที่น่าทึ่ง แต่เนื่องจากบนแอนดรอยด์ที่ใช้ (Samsung Galaxy Note 8) ไม่มีแอพนี้ หลังจากลองพิจารณาแอพอื่นบน Playstore ก็บังเอิญไปพบแอพชื่อ Hello Water Color ที่เมื่ออ่านดูแล้วเห็นว่าเหมาะกับเด็กๆมากกว่า ภาพด้านล่างนี้เป็นภาพหน้าจอของแอพนี้

image

ส่วนของจอที่ใช้ควบคุมการทำงานดูเหมาะสำหรับเด็กจริงๆด้วย แต่ภาพที่วาดขึ้นมาได้ดูน่าทึ่งทีเดียว ในเวอร์ชันฟรีมีสีให้ใช้ไม่มาก แต่เมื่อพิจารณาราคาของสีที่ซื้อเติมได้อีกแค่ 1 เหรียญดอลลาร์น่าจะคุ้มค่ามากๆ ซึ่งผมจะได้ลองใช้งานต่อไป หลังจากเปิดใช้งานครั้งแรก โปรแกรมปิดตัวไปเองหนึ่งครั้ง แต่ภาพที่เห็นผมทดลองเล่นอยู่นั้นยังคงอยู่ไม่หายไปไหน เมื่อลองเก็บภาพ ก็เก็บบันทึกภาพเอาไว้ได้ แต่ไม่พบว่าโปรแกรมให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ได้ การใช้งานกับปากกาของโน๊ตแปด พบว่ารองรับการใช้งานปากกาที่ไวต่อการกดหลายระดับของปากกาได้

ภาพที่ได้จะถูกเก็บไว้บนเครื่องของเราได้ (บนเครื่องผมจะอยู่ในโฟลเดอร์กล้อง)

ปัญหาที่พบ

  • ผมลงทุน 1.00 USD ซื้อ Full Version แต่ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไร เช่นสีที่ให้เลือกใช้เพิ่มขึ้น ทั้งที่มีการแจ้งการจ่ายเงินซื้อสำเร็จแล้วมาจาก Play Store และในแอพเองก็บอกว่าได้ซื้อตัว Full Version แล้ว ในเวลาต่อมา (13 มกราคม 2558 ได้ทดลอง uninstall แล้วดาวน์โหลดมาลงบนเครื่องใหม่จาก Play Store ปรากฎว่าแปรงและสีที่ซื้อเพิ่มมาอยู่ในโปรแกรมเสียอย่างนั้น

image

วาดภาพระบายสีด้วย Infinite Painter Free

โปรแกรมวาดภาพระบายสีที่โหลดมาใช้ก่อนหน้านี้คือ Sketchbook Express แต่ล่าสุดได้ลองค้นหาโปรแกรมสำหรับวาดภาพระบายสีใหม่เพิ่มเติม และก็ไปพบกับโปรแกรม Infinite Painter Free โดยบังเอิญจากการค้นหาโปรแกรมบนกูเกิ้ลเพลย์ด้วยคำค้นหาว่า “corel painter” ตามชื่อโปรแกรมที่ผมใช้บนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

image

โปรแกรมประยุกต์ Infinite Painter Free มีขนาดสิบกว่าเมกกาไบต์ ข้อเสียสำหรับของฟรีคือจำกัดขนดพื้นที่วาดภาพได้ ไม่สามารถแปลงภาพเป็นไฟล์ภาพเช่น JPEG หรือ PNG กับการมีแถบโฆษณาของสปอนเซอร์ แต่ผมก็หาทางเอาภาพมาแสดงได้โดยจับภาพหน้าจอ (screen capture) แล้วค่อยหาทางตัดส่วนภาพที่ไม่ต้องการในภายหลังก็ได้

image

ผลงานชิ้นแรกจากการเล่นโปรแกรมนี้มีไอเดียมาจากสภาวะอากาศในขณะนั้น … ตั้งใจจะวาดคนถือรม แต่หมวกเห็นที่ขึ้นรูปมาดูไม่เหมือนร่มเลยเปลี่ยนร่มที่ร่างเป็นหมวกเห็ดแทนไปอย่างที่เห็น

ตั้งใจว่าจะใช้ปากกาสำหรับที่ใช้กับแท็บเล็ตในการวาด แต่ขี้เกียจไปหยิบ จึงวาดด้วยนิ้วแทนอย่างที่เห็น ผมพบว่าการตอบสนองของโปรแกรมค่อนข้างดี คือไม่เหมือนใช้ของจริงนัก แต่ก็ถือว่าลากปุ๊บได้เส้นปั๊บในระดับหนึ่งกับ Samsung Galaxy Tablet 8.9 ของผม

ข้อดีของโปรแกรมนี้คือการผสมกันได้ของสี ส่วนดำๆที่เห็นในภาพมาจากสีที่เปื้อนแนวดินสอที่ร่างไว้ เราสามารถสร้างชั้นงาน (layer) ใหม่ได้ แต่พอไม่ได้ทำตอ นแรกก็เลยปล่อยไปเลยตามเลย แต่ก็ดูได้อยู่ เงาสีออกม่วงที่ก้านเห็ดมาจากการลงสีในชั้นงานใหม่ แล้วค่อยยุบชั้นงานมารวมกันแต่ดูไม่เนียนว่าเป็นเงาของภาพสักเท่าไหร่

สรุปว่าโปรแกรมนี้น่าเล่นมาก เอาไว้ลองกับปากกา กับไปขอยืม Galaxy Note ของชาวบ้านมาลองในภายหลังครับ

ฝึกระบายด้วยสีน้ำ

หนังสืออีกเล่มที่ซื้อมาในระหว่างงานบุ๊คแฟร์ครั้งที่ 8 ที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล พญาไท เมื่อระหว่างวันที่ 5-8 ก.พ. 2556 ที่ผ่านมา โดยซื้อในวันสุดท้ายของงาน ตอนที่ทางร้านกำลังเก็บข้าวของลงลังพอดี
9786165125895Lฝึกระบายด้วยสีน้ำ (Watercolor) โดยสุรยุทธ พันธ์เผือก ในหน้าคำนำมีคาถาเพื่อความสะบายใจในการเขียนภาพสีน้ำซึ่งก็คือการที่บอกว่าเขียนสีน้ำอย่าคิดมาก และคิดว่าการเขียนภาพคือการพักผ่อน ซึ่งผมจะลองดูว่าจะเป็นจริงสำหรับการเขียนแบบสีน้ำดิจิตัลหรือไม่

ในบทที่ 1 หรือบทนำนั้นมีตัวเข้มที่เขียนว่า เราจะเขียนภาพสีน้ำ หรือเราจะใช้สีน้ำเขียนภาพ ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งทีเดียว โดยประการแรกนั้นหมายถึงการเขียนภาพให้เหมือนภาพสีน้ำแบบชาวบ้าน กับกรณีที่สองคือเราใช้สีน้ำเป็นเครื่องมือในการเขียนภาพของเรา (ซึ่งอาจจะแปลได้ว่าพอทำเสร็จอาจถูกหาว่าไม่ใช่ภาพสีน้ำก็เป็นได้)

ตัวเข้มอีกตัวหนึ่งบอกว่า สีน้ำจะระบายอย่างไรก็เป็นสีน้ำ หรือผมก็จะบอกว่าสีน้ำดิจิตัลก็ยังคงเป็นสีน้ำดิจิตัล จะไปนั่งฝึกระบายให้เหมือนสีน้ำจริงๆ คงไม่ได้ จะได้สบายใจ

เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย 5 บทใหญ่ๆ ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 เริ่มเดินทาง  ว่าด้วยเรื่องรูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก เป็นต้น บทที่ 3 เกี่ยวกับภาพทิวทัศน์ บทที่ 4 เน้นไปที่ภาพคน บทที่ 5 เป็นบทที่เกี่ยวกับการฝึกระบายสีน้ำตามต้นแบบ

สิ่งที่ผมมองหาในเล่มนี้คือตัวอย่างการระบายภาพเป็นขั้นๆ ซึ่งจะมีให้เห็นบางภาพ แต่ก็คือว่าหลายภาพอยู่ หากมีเวลาอาจลองวาดตามด้วยสีน้ำดิจิตัล แล้วเปรียบเทียบดูว่าเป็นสับปะรดหรือไม่

ภาพตัวอย่างอื่นๆ ส่วนหนึ่งจะมีคำอธิบายขั้นตอนเป็นข้อๆ แต่ไม่มีตัวอย่างการระบายเป็นขั้นๆ ซึ่งเหมาะสำหรับคนรู้พื้นฐานแล้ว และลงมือทดลองระบายเอง กับภาพตัวอย่างที่ไม่มีคำอธิบายใดๆ สำหรับคนที่เห็นภาพผลลัพธ์แล้วสามารถบอกได้และทำได้เองด้วย

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง: